เที่ยวไปในเมืองหละปูน : ตอนจบ

เที่ยวไปในเมืองหละปูน : ตอนจบ
เรื่อง พลอย มัลลิกะมาส
ภาพ นิธิวีร์ ว่องแพร่วิทย์

เส้นทางที่สอง “เก็บฮอมตอมไพร่” เพลินใจไปกับสีสันผ้าฝ้ายดอนหลวง
เพราะชื่อเสียงของงานประเพณี “แต่งสีอวดลายผ้าฝ้ายดอนหลวง” ทำให้ฉันเดินทางมาเยือน บ้านดอนหลวง ชุมชมเก่าแก่ของชาวยองที่มีชื่อในเรื่องของผ้าฝ้ายทอมือ ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่พระเจ้ากาวิละได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองยอง เข้ามาตั้งบ้านเรือนโดย
พยายามรวบรวมผู้คนให้กลับมาอยู่ในตัวเมือง ทั้งคนเชื้อสายไตยอง ไตลื้อ และไตเขิน ให้มาตั้งรกรากในเชียงใหม่และลำพูน ที่เรียกกันว่า “เก็บฮอมตอมไพร่”ในบรรดาชนเผ่าต่างๆ ชาวยอง คือ ผู้ที่สามารถอนุรักษ์ความเป็นตัวตนท้องถิ่นของพวกเขาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิถีชีวิต ภาษา ตลอดจนเอกลักษณ์ในเรื่อง่ของงานหัตถกรรมท้องถิ่น ทั้งเรื่องของผ้าฝ้ายทอมือ ผ้าบาติก ไม้แกะสลักไปจนถึงเรื่องของเสื้อผ้าสำเร็จรูป จนทุกวันนี้ บ้านดอนหลวง ได้ชื่อว่า เป็นแผล่งผลิตผ้าฝ้ายทอมือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยชาวบ้านในชุมชนกว่า 250 หลังคาเรือน ล้วนประกอบอาชีพเกษรกรรมควบคู่ไปกันการทอผ้าฝ้าย

ร้านป้าบุญเมือง

ป้าบุญเมือง คำปัน เจ้าของผ้าฝ้ายร้านดัง “บุญเมืองผ้าฝ้าย” หนึ่งในค
นท้องถิ่นที่ยึดอาชีพทอผ้ามาอย่างยาวนาน เล่าว่าแต่เดิมชาวบ้านดอนหลวงประกอบอาชีพเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ ต่อมาราวปี พ.ศ. 2500 – 2535 สตรีชาวบ้านได้เข้ารับจ้างทอผ้าในตัวอำเภอป่าซาง จนกลายเป็นตำนานคนสวยป่าซาง สาวงามลำพูน ต่อมาโรงงานทอผ้าในตัวอำเภอเริ่มปิดตัวลง ช่างทอในหมู่บ้านจึงเร่ิมทอผ้าออกขายเอง และมีการจัดตั้ง
บุญเมืองผ้าฝ้ายกลุ่มทอผ้าขึ้นโดยการสนับสนุนของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอป่าซาง จนได้เป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมดีเด่นในปีพ.ศ.2542 มีการก่อสร้างศูนย์รวมผลิตภัณฑ์เครือข่ายกลุ่มทอผ้าหัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอป่าซางขึ้นในหมู่บ้าน และได้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาตามโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ในปีพ.ศ. 2546 โดยได้รับคัดเลือกเป็นเป็นหมู่บ้าน OTOP ระดับภาค

 

เส้นทางที่สาม แกะรอยวัฒนธรรมผ้าทอชนเผ่า
เจ้าถิ่นเมืองลำพูน แนะนำว่า หากอยากทำความรู้จักเส้นทางผ้าของจังหวัดลำพูนให้ครบ ต้องเดินทางไปเยี่ยมที่หมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ ชุมชนเล็กๆ ของชาวปกาเกอะญอที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในเรื่องของการถือศิล กินอาหารมังสวิรัติที่เคร่งครัดที่สุด “ปกาเกอะญอ” ในภาษากะเหรี่ยงที่มีความหมายว่า “คน” วัฒนธรรมประจำเผ่าที่เห็นได้อย่างโดดเด่นก็คือ เรื่องของการทอผ้า ที่ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเด็ก หรือชุดของหญิงสาวมักจะแต่งกายด้วยเสื้อสีดำ หรือน้ำเงินทรงกระสอบ ผ้าฝ้ายพื้นขาว ทอและปักประดับลวดลายงดงาม
ผ้าฝ้ายชนเผ่า ลี้ ลำพูนพร้อมผ้านุ่งสีแดงทอยกดอก ยกลาย ตกแต่งด้วยลูกเดือย และสำหรับผู้ชายกะเหรี่ยงนั้นก็มักจะสวมเสื้อตัวยาวถึงสะโพก ตกแต่งด้วยแถบสีที่ไม่มีการปักประดับเหมือนเสื้อผู้หญิง กับกางเกงสะดอที่ใช้สร้อยลูกปัดเป็นเครื่องประดับ พร้อมสวมกำไลเงินและตุ้มหูโชคดีมักเป็นของฉัน โดยเฉพาะในวันที่ได้ระหกระเหินเดินทางไกลมาจนถึงศูนย์วิจัยงานหัตถกรรม บ้านห้วยต้ม ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองลำพูนกว่า 80 กิโลเมตร เพราะเมื่อเช้าที่นี่เพิ่งได้รับ เสื้อผ้าฝ้ายทอมือ ปักเดือย ย้อมสีธรรมชาติ 2 ชุด ที่ประดับตกแต่งลวดลายด้วยเมล็ดเดือยแสนสวยมาจากแม่เฒ่าคนเก่าแก่ของหมู่บ้าน พนักงานที่ศูนย์วิจัยเล่าให้ฟังว่า เสื้อผ้าฝ้ายทอมือ ย้อมสีธรรมชาติแบบนี้ ไม่ได้หากันได้ง่ายๆ หรือมีมาบ่อย เพราะแม่เฒ่าในหมู่บ้านก็จะย้อมผ้าครามแบบนี้เก็บไว้ พอต้องการเงิ

ผ้าฝ้ายทอมือ ชาวลี้

นจริงๆ ถึงค่อยนำออกมาขาย”นานๆจะมีมาที ถ้าไม่ขัดสนจริงๆ ไม่มีใครเอาผ้าย้อมครามมาขาย ทุกคนก็อยากเก็บไว้ เพราะหาผ้าสีธรรมชาติแบบนี้ยากแล้ว”ลวดลายบนผ้าทอมือชนเผ่า ส่วนใหญ่ล้วนเป็นลวดลายที่ลอกเลียนมาจากธรรมชาติ ทั้งลายปีกผีเสื้อ ลายแมลงปอ ลายแมลงมุม ลายต้นไม้ ลายดอกไม้ ซึ่งล้วนแล้วแต่สะท้อนวิถึชีวิตของชาวกะเหรี่ยงที่ผูกพันกับธรรมชาติรอบตัว และสะท้อนให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนในการเก็บสิ่งละอันพันละน้อยจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว มาสร้างสรรค์ถักทอเป็นลวดลายที่ปราณีตงดงาม ความผูกพันของผ้าทอมือแต่ละผืน ล้วนเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตในแต่ละช่วงและอารมณ์ของผู้ทอผ้าเป็นหลัก ดังคำกล่าวที่ว่า ความสวยงามของผืนผ้านั้น ขึ้นกับอารมณ์ของคนทอเป็นสำคัญ จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่ภาพวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอ จะเป็นภาพชายหนุ่มเล่นดนตรีให้หญิงสาวเย็บกี่ทอผ้าฟัง

“ในอดีต ผู้ที่เป็นแม่จะต้องทอเสื้อของลูกให้เสร็จภายใน 1 วัน โดยมีนัยยะสำคัญก็คือ ผ้าผืนแรก คือ การสวมจิตและวิญญาณของชาวกะเหรี่ยงให้อยู่ในตัวเด็ก นับจากวันนี้จนถึงวันตาย เพื่อให้เด็กก้าวเดินอย่างมั่นคงไปตลอดชีวิต ในทางเดินที่ถูกที่ควร”
แม้ว่าในปัจจุบัน ความทันสมัย ไฮเทคโนโลยี จะก้าวเข้ามาทำความรู้จักทักทายกับชาวปกาเกอะญอมากขึ้น จนทำให้บางครัวเรือนทอผ้าได้เพียงเดือนละ 3 ผืน หากแต่ทว่าคำกล่าวข้างต้นก็ยังคงถูกปลูกฝังอยู่ในหัวใจของชาวปกาเกอะญอ เพราะไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ก็ไม่มีวันที่กาลเวลาจะพรากจิตวิญญาณของชาวชนเผ่าปกาเกอะญอไปจากผ้าทอผืนงามได้ ด้วยว่า วิถีแห่งผ้าทอนี้ คือ ลมหายใจแรกและลมหายใจสุดท้ายที่อยู่คู่กับพวกเขาตั้งแต่วินาทีแรกที่ได้ลืมตาดูโลกจวบจนวันสุดท้ายของชีวิต.

ผ้าฝ้ายทอมือ

ผ้าฝ้ายทอมือ

อำเภอป่าซาง

 

 

 

 

 

Cr.Ploy mallikamas
ลงวันที่17 มกราคม 2016